รฟม. เตรียมดันใช้ Metaverse ให้บริการข้อมูลแหล่งเที่ยวแนวรถไฟฟ้า MRT

รฟม. เตรียมดันใช้ Metaverse ให้บริการข้อมูลแหล่งเที่ยวแนวรถไฟฟ้า MRT

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เตรียมดันไอเดียให้บริการข้อมูลแหล่งกินเที่ยวช้อปติดแนวรถไฟฟ้า MRT ด้วยเทคโนโลยี Metaverse รฟม., Metaverse – (9/7/2022) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กระทรวงคมนาคม ประกาศผลผู้ชนะกิจกรรมวันนำเสนอผลงาน (Pitching Day) ภายใต้หลักสูตรโครงการนวัตกรรมนำร่อง (Innovation Pilot Project) ได้แก่

ทีม TransInnovation ซึ่งนำเสนอผลงานที่มีชื่อว่า “Metro Hip Hub” รวมแหล่งกินเที่ยวช้อปติดแนวรถไฟฟ้า เพื่อสร้าง Business Model Innovation ให้กับองค์กร

โดยการนำเทคโนโลยี Metaverse เข้ามาใช้ในระบบบริการข้อมูล (Data Service) สำหรับผู้เดินทางในแนวเส้นทางรถไฟฟ้า MRT ให้สามารถค้นหาจุดหมายปลายทางบริเวณโดยรอบสถานีที่เป็นภาพจำลองการเดินทางเสมือนจริงได้ทันที ซึ่งจะช่วยให้ผู้สืบค้นได้รับข้อมูลที่ต้องการครบถ้วนในระบบเดียว อาทิ ทางออกจากสถานีที่ควรเลือกใช้ เส้นทางการเดินเท้าต่อจากสถานีไปยังจุดหมายปลายทาง ฯลฯ

ทั้งนี้ ทีมผู้ชนะมองว่า รฟม. มีทรัพยากรข้อมูลที่เกี่ยวข้องจำนวนมากอยู่แล้ว ซึ่งสามารถเริ่มต้นดำเนินการเฟสแรกของโครงการนวัตกรรมนำร่องได้ทันที อีกทั้งการนำนวัตกรรมมาใช้ในการเปลี่ยนแปลงองค์กรนี้ จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนในการเดินทาง ตลอดจนช่วยให้ รฟม. เติบโตอย่างยั่งยืนในโลกดิจิทัลได้ด้วยเช่นกัน

นายวิทยา พันธุ์มงคล รองผู้ว่าการ รฟม. (ปฏิบัติการ) ในฐานะประธานการจัดกิจกรรมวันนำเสนอผลงาน ได้แสดงความยินดีต่อทีมผู้ชนะ รวมถึงทีมนวัตกรต้นแบบของ รฟม. ทุกทีม ที่ต่างก็มีข้อดีเฉพาะตัวและนำมาต่อยอดเป็นไอเดีย แสดงพลังความคิดสร้างสรรค์กันอย่างเต็มที่ โดยโครงการนวัตกรรมนำร่องนี้ก็จะกลายเป็นตัวอย่างสำหรับนวัตกรรมอื่นๆ ของ รฟม. ที่จะตามมาในอนาคตได้

รฟม. เริ่มดำเนินโครงการพัฒนานวัตกรต้นแบบ (MRTA Academy and MRTA Innovator) ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2565 โดยร่วมมือกับคณะที่ปรึกษาโครงการฯ จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดฝึกอบรมหลักสูตรโครงการนวัตกรรมนำร่อง (Innovation Pilot Project) ให้แก่ กลุ่มนวัตกรต้นแบบของ รฟม. ซึ่งเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา ได้มีการจัดกิจกรรมวันคัดเลือกไอเดีย (Mini-Hackathon Day) จนได้ทีมที่ได้รับการคัดเลือกรวม 5 ทีม เพื่อไปพัฒนาไอเดียทางออกให้มีความชัดเจนในรายละเอียดมากขึ้น และกลับมาประชันกันอีกครั้งในกิจกรรมวันนำเสนอผลงาน (Pitching Day) นี้ โดยคณะที่ปรึกษาโครงการฯ และผู้บริหาร รฟม. ได้ร่วมเป็นกรรมการตัดสินผลงานจากทั้ง 5 ทีม จากเกณฑ์ผลกระทบต่อองค์กรและความยั่งยืน (Impact & Sustainability) ทั้งผลกระทบเชิงบวก/ประโยชน์ทางการเงิน และประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งให้น้ำหนักความสำคัญมากที่สุด ควบคู่กับเกณฑ์อื่นๆ ได้แก่ การระบุปัญหาที่ต้องการหาทางออก (Problem Statement) ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ในการหาไอเดียสำหรับทางออก (Idea for Solution) ความเป็นไปได้ในการใช้จริง (Viability & Practicality) รวมถึงการเล่าเรื่องและการนำเสนอ (Storytelling & Presentation)

หลังจากนี้ รฟม. มีแผนการจะนำผลงานไอเดียจากทีมผู้ชนะ เข้าสู่กระบวนการศึกษาความเป็นไปได้ในเชิงลึก ทั้งในแง่ของกฎหมาย เทคโนโลยี ประโยชน์ต่อประชาชนและต่อความยั่งยืนองค์กร ตลอดจนปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน เพื่อพัฒนาโครงการนวัตกรรมนำร่องให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

ติดตามข้อมูลข่าวสาร รฟม. เพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ รฟม. www.mrta.co.th เฟซบุ๊กแฟนเพจการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และ Call Center รฟม. โทร. 0 2716 4044

ปัญหาสิทธิบัตรทอง สปสช. เปิดแจ้งเรื่องผ่านแอปฯ ‘ทราฟฟี่ฟองดูว์’ เริ่มวันนี้

เช็คสิทธิบัตรทอง 2565  สปสช. เปิดช่องทาง แจ้งปัญหาบัตรทอง  30 บาท ผ่านแอปฯ ทราฟฟี่ฟองดูว์ เริ่มวันนี้ 11 ก.ค.65 ดูขั้นตอนและรายละเอียดการใช้งานทั้งหมด ได้ที่นี่

วันนี้ 11 กรกฎาคม 2565 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้เปิดช่องทางใหม่สำหรับการรับแจ้งเรื่องร้องเรียนและ “ปัญหาการใช้สิทธิบัตรทอง 30 บาท” ผ่านแอปพลิเคชัน Traffy Fondue (ทราฟฟี่ฟองดูว์) เพื่อ สื่อสาร แก้ไขปัญหา พร้อมกับรับฟังความเห็นและดูแลประชาชนผู้มีสิทธิ โดย สปสช. ได้จัดเจ้าหน้าที่ในการติดตาม และทันทีที่มีการแจ้งเรื่องเข้ามาในระบบจะเร่งแก้ไขปัญหาให้โดยเร็ว

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้พัฒนาแอปพลิเคชันทราฟฟี่ฟองดูว์ที่ช่วยในการรับเรื่องราวร้องทุกข์ ซึ่ง นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้นำมาใช้เป็นช่องทางรับแจ้งปัญหาจากประชาชนใน กทม. ได้อย่างมีประสิทธิผลในการรับเรื่องราวร้องทุกข์และเร่งแก้ปัญหา ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างมาก

จากข้อมูลปีงบประมาณ 2564 พบว่า มีประชาชนใช้สิทธิบัตรทอง 30 บาท เข้ารับบริการผู้ป่วยนอกถึงจำนวน 161.71 ล้านครั้ง และผู้ป่วยในอีกจำนวน 5.682 ล้านครั้ง ด้วยจำนวนการใช้สิทธิบัตรทอง การเข้ารับบริการในบางครั้งย่อมเกิดความไม่สะดวกหรือมีปัญหาและอุปสรรคเกิดขึ้นได้ เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน และนำไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงระบบ

ปัญหานี้ ถือว่าเป็นผลกระทบที่ตามหลังจากที่การร่วงลงของมูลค่าคริปโตเคอเรนซี่ (Cryptocurrencies) หลาย ๆ ตัว ที่ก็ส่งผลให้บริษัทซื้อขาย และแลกเปลี่ยนหลาย ๆ เจ้า ได้เริ่มปิดตัวรวมถึงยื่นล้มละลายกันไปเป็นจำนวนมาก

Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่า